หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต
นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และจิตสาธารณะ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต
(นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
ชื่อย่อ : วท.บ.
(นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และจิตสาธารณะ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) บุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
2) นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน
3) นวัตกรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
4) บุคลากรทางด้านการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา
5) เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการด้านการแพทย์ เช่น บริษัทยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ ห้องปฏิบัติการวินิจฉัยทางการแพทย์
จุดเด่นของหลักสูตร
1) เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาและวางระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ โดยผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ การแพทย์ นวัตกรรม เทคโนโลยี การจัดการและการประกอบธุรกิจ
2) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และสมรรถนะในการทำวิจัยด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จะเป็นกลไกสนับสนุนในภารกิจของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
3) เป็นหลักสูตรที่มีลักษณะการจัดการเรียนการสอนคล้าย Pre-Medical School สามารถนำไปใช้เพื่อต่อยอดในการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
4) เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ จะมีศักยภาพในการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ทำให้บัณฑิตสามารถร่วมสร้างหรือสนับสนุนนวัตกรรมและผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และมีศักยภาพที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาที่สูงขึ้นได้
5) เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่น่าสนใจและดึงดูดผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการบูรณาการศาสตร์ด้าน การวิจัย นวัตกรรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ การจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ จึงจัดว่าเป็นหลักสูตรและสาขาที่เปิดโอกาสให้บัณฑิตทำงานได้หลากหลาย
อีกทั้งยังเป็นสาขาที่ขาดแคลนและต้องการของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1) เป็นนักเรียนไทยหรือนักเรียนต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
2) ต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
3) อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และไม่เกิน 21 ปี บริบูรณ์ (นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร)
เกณฑ์การพิจารณาผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และเข้าศึกษา
คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะพิจารณาผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์จากผู้สมัครที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 คุณสมบัติของผู้สมัคร และพิจารณาจากคะแนนเอกสารการสมัคร คะแนนสอบสัมภาษณ์ และจะประมวลผลคะแนนรวมจากมาก ไปหาน้อย โดยมีองค์ประกอบ ค่านํ้าหนัก ดังตารางนี้
รอบการรับสมัคร | แฟ้มสะสมงาน | TGAT | A-level | สอบสัมภาษณ์ |
รอบที่ 1 | 50 | 20 | – | 30 |
รอบที่ 2 | – | 20 | 60 | 20 |
รอบที่ 3 | – | 20 | 60 | 20 |
รอบที่ 4 | – | 20 | 20 | 60 |
ปีการศึกษา 2568
รับนักศึกษา จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 4 รอบ
รอบที่ 1 โครงการเพชรจุฬาภรณ์
(การรับด้วยแฟ้ม Portfolio)
จำนวน 8 คน
รับสมัคร วันที่ 1 ธันวาคม 2567 – 1 มกราคม 2568
สมัครออนไลน์ >> https://reg.cra.ac.th/cra_erp_edu/admission
รอบที่ 2 โครงการปณิธานจุฬาภรณ์
(การรับแบบโควตา Quota)
จํานวน 12 คน
รับสมัคร วันที่ 1 – 31 มีนาคม 2568
สมัครออนไลน์ >> https://reg.cra.ac.th/cra_erp_edu/admission
รอบที่ 3 โครงการศรัทธาจุฬาภรณ์
(การรับแบบ Admission)
จำนวน 10 คน
รับสมัคร วันที่ 6 – 12 พฤษภาคม 2568
สมัครออนไลน์ >> https://www.mytcas.com