หลักสูตรเทคโนโลยีมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ
—————————————————————-
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรเทคโนโลยีมหาบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Master of Technology Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : ชื่อเต็ม เทคโนโลยีมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ ทล.ม.
ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม Master of Technology
ชื่อย่อ M.Tech.
วิชาเอก
๑. ภาษาไทย : เทคโนโลยีมหาบัณฑิต (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์) ทล.ม. (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ : Master of Technology (Computed Tomography) M.Tech. (CT)
๒. ภาษาไทย : เทคโนโลยีมหาบัณฑิต (เอ็มอาร์ไอ) ทล.ม. (เอ็มอาร์ไอ)
ภาษาอังกฤษ : Master of Technology (Magnetic Resonance Imaging)
M.Tech. (MRI)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
ระดับการศึกษา
หลักสูตรระดับปริญญาโท
ปรัชญา
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตผู้มีความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพิ่มขีดความสามารถด้านวิชาการและวิชาชีพให้ตรงกับความต้องการของประเทศ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อบริการประชาชนได้ดีมากยิ่งขึ้น และเพื่อความ “เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต”
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
(๑) ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ตนศึกษา มีความสามารถและมีทักษะขั้นสูงทางคลินิกและการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย
(๒) ผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ มีเมตตา เอาใจใส่ต่อผู้อื่น มีความเสียสละ และมีความรับผิดชอบในการทำงาน
(๓) ผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะการแก้ปัญหา ทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการได้ดี ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
สถานที่จัดการศึกษา
(๑) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และหน่วยงานภายใต้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้แก่ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลในสังกัดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
(๒) หน่วยงานภายนอกราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้แก่ สถานพยาบาลและศูนย์ภาพทางการแพทย์โดยความร่วมมือในลักษณะเป็นสถานที่ฝึกงาน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีมหาบัณฑิต สามารถประกอบอาชีพดังต่อไปนี้
(๑) ผู้เชี่ยวชาญสายวิชาชีพ* ในองค์กรของรัฐหรือเอกชน
(๒) นักเทคโนโลยีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ในองค์กรของรัฐหรือเอกชน
(๓) ผู้ช่วยสอน ในองค์กรการศึกษาหรือฝึกอบรม
(๔) นักวิชาการ
*หมายเหตุ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพต้องมีใบอนุญาตในสาขาวิชาชีพนั้น